วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิธีถนอมดวงตา

ถนอมผิวรอบดวงตา

ถนอมผิวรอบดวงตา

ผิวสวย

ถนอมผิวรอบดวงตา
(woman plus)

          1.ทำความสะอาดรอบดวงตา โดยใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ใช้อยู่ประจำก็เพียงพอ แต่สาว ๆ ที่แต่งหน้า และดวงตาเป็นประจำ ก็ควรใช้โลชั่นเช็ดเครื่องสำอางโดยเฉพาะ ก่อนเช็ดก่อนล้างหน้าตามปกติ

          2.ครีมสำหรับรอบดวงตา ถ้ามีส่วนผสมของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ก็จะช่วยฟื้นฟูผิวรอบๆ ดวงตาของคุณให้สดใสขึ้น หรือถ้ามีส่วนผสมของ คาโมมายล์ ก็จะช่วยลดการระคายเคืองของดวงตาได้ดี

          3.ครีมบำรุงดวงตาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ และวิตามินบี จะช่วยซ่อมแซมผิว และช่วยปกป้องผิวจากริ้วรอย

          4.ควรใช้ครีมสำหรับดวงตาโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ครีมสำหรับผิวหน้า มาทารอบดวงตา เพราะมีความเข้มข้นสูงกว่า และมีส่วนผสมของน้ำหอม อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้

          5.ก่อนออกจากบ้าน ควรใช้ครีมรอบดวงตา ชนิดเจลใส เพราะเนื้อเจลที่บางเบากว่าชนิดครีม สามารถแต่งหน้าได้ตามปกติ และควรเลือกเจลที่มีมีส่วนผสมของวิตามิน และสารกันแดด เพื่อป้องกันริ้วรอยและดวงตาคล้ำ

          6.หลีกเลี่ยงแดดจัด ต้นเหตุหลักของการเกิดริ้วรอย

          7.พักผ่อนดวงตา และผิวรอบดวงตา อย่างเต็มที่ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง โดยการใช้ครีมทารอบด้วยตา ทารอบดวงตา แล้วใช้สำลีชุบน้ำเย็นหมาดๆ ปิดที่ดวงตาทิ้งไว้ 5-10 นาที ระหว่างรอก็ นวดเบา ๆ ที่เปลืองตาไปด้วย โดยเริ่มนวดเบา ๆ ที่หัวตา ไล่ไปยังหางตาค่ะ นวดแบบนี้สัก 5 รอบ รับรองว่าจะรู้สึกสบาย ผ่อนคลายค่ะ

ไอซีที ส่อเสียค่าโง่ มือถือ เปิดช่องเอกชนสะดวกจ่าย

ไอซีที ส่อเสียค่าโง่ มือถือ เปิดช่องเอกชนสะดวกจ่าย



‘ไอซีที’ส่อเสียค่าโง่‘มือถือ’เปิดช่องเอกชนสะดวกจ่าย (ไทยโพสต์)

          ค่าเสียหาย 3 ค่ายมือถือกำลังกลายเป็น "ค่าโง่" หลังปลัดไอซีทีเปิดช่องเอาใจเอกชนเต็มรูป บอกไม่ต้องจ่ายเต็ม พร้อมให้เสนอทางเลือกมา อ้างเฉยไม่อยากกระทบผู้ใช้ บรรยากาศลงทุน? "นักวิชาการ" ชี้ส่อแววมวยล้ม


          มติคณะรัฐมนตรีที่มอบให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ไปเจรจากับผู้ได้รับสัมปทานมือถือในเรื่องค่าเสียหายรวมเกือบแสนล้านบาทภายใน 15 วัน อาจกลายเป็นค่าโง่ของภาครัฐแล้ว

          เมื่อนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที ในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจา 3 ผู้ให้บริการมือถือ กล่าวว่า การเจรจาที่จะเกิดขึ้นต้องอยู่บนพื้นฐานที่เอกชนยอมรับได้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเอกชนไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายทั้งหมด หรือเสนอแนวทางที่เอกชนพอใจ และรัฐบาลรับได้ เพราะรัฐไม่ได้ต้องการทำให้เอกชนเสียหาย เพราะคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการเป็นหลัก รวมถึงบรรยากาศการลงทุน ผลกระทบทางธุรกิจ ซึ่งหากรัฐไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้ คณะกรรมการเจรจาคงไม่เกิดขึ้น และคงเรียกค่าเสียหายตามความเห็นของคณะกรรมการมาตรา 22 และ 13 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ที่เสนอให้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเอกชนรวมมูลค่าเกือบแสนล้านบาทไปแล้ว

          "การเจรจาจะเริ่มจากการแก้ไขสัญญาที่ไม่ถูกต้อง และสร้างความเสียหายให้รัฐเท่าไร แล้วนำมูลค่าความเสียหายมาถกกับเอกชนว่าจะชดใช้จุดนี้ยังไง ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบนโต๊ะเจรจา จึงยังไม่สามารถแจงรายละเอียดตอนนี้ แต่เชื่อว่าทั้งหมดจะจบลงด้วยดี" นางจีราวรรณกล่าว

          เธอระบุว่า จุดประสงค์ของการเจรจา เพื่อทำให้การแก้ไขสัญญาที่ไม่ถูกต้องเข้าสู่ขั้นตอนทางกฎหมายที่ถูกต้อง เพราคณะกรรมการมีตัวแทนของฝ่ายกฎหมายอยู่แล้ว และไม่ว่าผลเจรจาครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ครม.จะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

          ด้านนายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารและสารสนเทศ มองเรื่องนี้ว่า หากรัฐมองว่าเอกชนผิดจริงก็ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะเจรจาแต่อย่างใด โดยควรเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายทันที และไม่ควรใช้แนวทางผ่อนส่งค่าเสียหายตามที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีไอซีทีเสนอด้วย

          "กลัวว่างานนี้จะเป็นมวยล้มต้มคนดู ลิเกหลงโรง หรือจับคนเป็นมาเป็นตัวประกัน เพราะที่ผ่านมาเอกชนไม่เคยยอมรับว่าผิดแล้ว อยู่ดี ๆ จะมาเจรจาเรื่องความเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้หากรัฐบาลมองว่าผิดจริงก็ควรทำทุกอย่างให้กระจ่าง เพื่อไม่ให้สำนวนอ่อน เพราะถ้าเป็นเช่นนี้เรื่องถึงขั้นฟ้องร้องรัฐก็มีโอกาสแพ้สูง" นายอานุภาพกล่าว และว่า รัฐยังควรเร่งดำเนินการในเรื่องของสัมปทานดาวเทียมไทยคมที่ยังมีปัญหาอยู่ด้วย
          ในขณะที่นายจุติกล่าวถึงปัญหาสัมปทานดาวเทียมไทยคมว่า อีก 1-2 สัปดาห์น่าจะนำผลสรุปจากคณะกรรมการมาตรา 22 บรรจุในวาระเพื่อให้ ครม.พิจารณาได้ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการมาตรา 22 ที่มีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน อยู่ระหว่างการสรุปข้อมูล

          โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางการแก้ไข 3 ข้อ คือ 


          1. ให้ไทยคมคืนเงินประกันค่าสินไหม 6.7 ล้านดอลลาร์ที่ได้จากที่ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหาย และต้องปลดระวางก่อนกำหนดมาให้ไอซีที

          2. กรณีการยิงไอพีสตาร์ ซึ่งไม่ใช่ดาวเทียมสำรองไทยคม 3 สำนักงานกิจการอวกาศ ต้องประสานงานไปยังบริษัทว่าต้องจัดสร้างดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ที่มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง และยิงดาวเทียมสำรองดวงใหม่

          3. การปรับลดสัดส่วนถือหุ้นจาก 51% เหลือ 40% โดยไม่ผ่าน ครม.นั้น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้องกลับไปถือครองหุ้นในสัดส่วนเท่าเดิมคือ 51